“มังคุด” ราชินีผลไม้ ช่วยรักษาข้อเสื่อม ต้านโรคมะเร็ง!!!
มีนาคม 24, 2019มังคุด (Mangosteen) ได้รับฉายาว่าเป็น” ราชินีแห่งผลไม้ “(The queen of fruits) มังคุดเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็นมีสรรพคุณทางยา ในเปลือกมังคุดพบสารที่เรียกว่า แซนโทน(xanthones) ซึ่งมีอยู่ถึง 40 กว่าชนิด ดังนั้นเปลือกมังคุดจึงมีประโยชน์มากมาย
ประโยชน์จากมังคุด
ช่วยต้านมะเร็ง
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่าเนื้อมังคุดมีสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ น้อยกว่าเปลือกมังคุด ในเปลือกมังคุดมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระอย่างดี ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia ) และสารสกัดจากเปลือกมังคุดยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ มีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็ง มะเร็งเต้านม มะเร็งไต มะเร็งปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งตับ
ช่วยลดระดับคอเรสเตอรอล
สารแซนโทนจากเปลือกมังคุดสามารถยับยั้งโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายและช่วยขยายตัวของหลอดเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ป้องกันหลอดเลือดอุดตันและโรคหัวใจ
ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้
เปลือกมังคุดช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย และยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน (histamine) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการป้องกันโรคูมิแพ้ และโรคหอบหืด
ช่วยลดกลิ่นปาก
เปลือกมังคุดมีฤทธิ์ฝาดจึงช่วยรักษาแผลในช่องปากและช่วยให้เยื่อบุช่องปากแข็งแรงขึ้น ช่วยลดกลิ่นปาก บำรุงสุขภาพภายในช่องปากให้แข็งแรง และมีฤทธิ์ในการต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคเหงือกอีกด้วย
ช่วยรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ
ได้มีการค้นคว้าวิจัยพบสารในมังคุดที่ทำให้เกิดอาการอักเสบสร้างภาวะภูมิคุ้มกันที่สมดุลให้กับร่างกาย ซึ่งเป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนและสร้างมวลกระดูกอ่อนอีกทั้งยังสามารถยับยั้งการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนได้ดีอีกด้วย
ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
มังคุดช่วยรักษาโรคผิวหนังต่างๆได้ เช่น แผลพุพอง ผิวหนังอักเสบ โรคเรื้อน กลากเกลื้อน ผดผื่นคันต่างๆ สามารถรักษาด้วยการใช้เปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำร้อนแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นแผล และในมังคุดยังพบสารแมงโกสติน (Mangostin) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบ จึงช่วยรักษาแผล ฝี หนองได้
ช่วยรักษาอาการท้องเสีย
มังคุดเป็นผลไม้ที่ใช้รักษาอาการท้องเสีย เนื่องจากพบว่าในเปลือกผล มีสารแทนนิน มีฤทธิ์ฝาดสมาน ช่วยแก้ท้องเสียได้ดี โดยใช้เปลือกแห้งฝนกับน้ำดื่มหรือฝนกับน้ำปูนใส
CR:กองโภชนาการ กรมอนามัย